การตรวจวินิจฉัยอาการเบื้องต้น สิ่งสำคัญก่อน ทำการนวดทุกครั้ง
การนวดแผนไทยนั้นเบื้องต้นผู้นวดจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับท่านวดต่างๆรวมไปถึงหลักการของระบบสรีระในร่างกายต่างๆที่เกี่ยวข้องในการนวดและสิ่งที่ขาดไม่ได้ก่อนทำการนวดก็คือการเช็คอาการของผู้มารับบริการนวดหรือเป็นการตรวจวินิจฉัยอาการเบื้องต้นที่หมอนวดไทยควรรู้ เบื้องต้นดังต่อไปนี้
- 1. การซักถามอาการผู้มารับบริการ
– ซักถามอาการหลัก เช่น มีอาการปวด แบบไหน ปวดเสียวร้าวหรือว่าปวดเสียดขัด และซักถามตำแหน่งบริเวณที่ปวด
– สถานการณ์อื่นๆร่วมด้วย เช่น อาการท้องผูกหรือท้องอืด
– ซักถามประวัติส่วนตัว เช่น ไปทำอะไรมา ที่เป็นสาเหตุของอาการต่างๆ
2. การสังเกตจากลักษณะภายนอก
– ดูลักษณะภายนอกร่างกายทั่วไปเช่น ขาโก่ง หลังค่อมหรือรูปร่างอ้วน
– ดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย ลักษณะการเดิน การนั่ง รวมถึงการเอี้ยวตัวต่างๆ
– ดูบริเวณที่มีอากาศปวด เช่น ลักษณะบวมแดงหรือ เนื้อลีบ
– ดูการหายใจของลูกค้าเช่นหายใจหอบ หรือ ติดขัด
3. การฟัง ฟังการหายใจ เช่น การหายใจเสียงดัง ฟังการพูดเช่นการพูดเบาพูดดังหรือพูดไม่ชัด
4. การสัมผัสร่างกาย
การจับชีพจรการตรวจความร้อนอุณหภูมิของร่างกาย
– การเช็คความร้อน เย็นและผิวหนังบริเวณที่ปวด
- การคลำว่าเส้นตึง หรือ เป็นคลื่น เป็นก้อนกลิ้งไปกลิ้งมา
– การกดหาจุดเจ็บ การตรวจบริเวณ ข้อ หรือวัดกำลังตามข้อเข่าข้อศอก
ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่หมอนวดต้องกระทำก่อนทำการนวดให้ลูกค้าเนื่องจากบางคนไม่ตรวจวินิจฉัยอาการหรือไม่สอบถามให้ละเอียด หากมีอาการมารู้ภายหลังและเกิดอาการตามมาหลายภายหลังการนวดอาจจะทำให้ เกิดอันตรายต่อผู้มารับบริการนวดรวมไปถึงเกิดความ เสียหายมาถึงตัวผู้นวดด้วย ดังนั้น การหาความรู้เกี่ยวกับวิชาการเรียนนวดไทย ผู้ที่ให้บริการลูกค้าต้องมีความรู้พื้นฐานหลักๆในส่วนนี้และจะต้องดูด้วยว่าอาการแบบไหนที่สามารถนวดได้และ ไม่ควรนวดโดยเด็ดขาดเพราะมีถึงวิธีการดูแลตัวเองการป้องกันอาการต่างๆที่จะเกิด ภายหลังการนวดค่ะ